วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี THE BUDGETING ADMINISTRATION OF SCHOOL IN PATHUM THANI PROVINCE

 บทคัดย่อ         

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และประเภทของโรงเรียน ประชากรคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 553 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 232 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ทดสอบที (t-test) สำหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า
1. โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารการเงิน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ส่วนด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
2. เปรียบเทียบการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและประเภทของโรงเรียน พบว่า
2.1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณ แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณไม่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน


อ้างอิง

อุบล มีแสง อรสา จรูญธรรม และ สุวรรณา โชติสุกานต์ (2556) การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2556หน้าที่ 127 - 140


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น