วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี THE BUDGETING ADMINISTRATION OF SCHOOL IN PATHUM THANI PROVINCE
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และประเภทของโรงเรียน ประชากรคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 553 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 232 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ทดสอบที (t-test) สำหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า
1. โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารการเงิน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ส่วนด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
2. เปรียบเทียบการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและประเภทของโรงเรียน พบว่า
2.1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณ แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนมีการบริหารงานงบประมาณไม่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน
อ้างอิง
อุบล มีแสง อรสา จรูญธรรม และ สุวรรณา โชติสุกานต์ (2556) การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2556หน้าที่ 127 - 140
ความพึงพอใจในการบริการวิชาการแก่สังคม กรณีการบริการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยความพึงพอใจในการบริการวิชาการแก่สังคม กรณีการบริการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นผู้มาใช้บริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ส่วนมากเป็นนักศึกษาของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี มีคณาจารย์และบุคลากรมารับบริการเพียงเล็กน้อย และมีบุคคลภายนอกอีกจำนวนหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเจาะจง ได้จำนวน 201 คน
ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลเบื้องต้น
กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย 154 คน คิดเป็นร้อยละ 76.60 เป็นเพศหญิง 47 คน คิดเป็นร้อยละ 23.40 จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 201 คน เป็นนักศึกษาจำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 97.50 เป็นคณาจารย์และบุคลากร จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 2.50 ไม่มีบุคคลภายนอกมารับบริการในช่วงเวลาเก็บรวบรวมข้อมูล เคยรับบริการวิทยาศาสตร์การกีฬาจากแหล่งอื่นจำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 50.20 ไม่เคยรับบริการวิทยาศาสตร์การกีฬาจากแหล่งอื่นจำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 49.80 ผู้รับบริการมารับบริการบ่อย ๆ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 7.50 มารับบริการปานกลางจำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 41.30 มารับบริการนาน ๆ ครั้ง จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 51.20
2. ความพึงพอใจในการบริการวิชาการแก่สังคม กรณีการบริการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี
2.1 ผู้รับบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬามีความพึงพอใจในระดับสูง และระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ เช่น คุณภาพของเครื่องมือออกกำลังกาย ความปลอดภัยในการใช้ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ความเรียบร้อยของเครื่องมือออกกำลังกายและความพึงพอใจในภาพรวม ส่วนความพึงพอใจระดับน้อยมีเพียงเล็กน้อย เช่น การบริการด้านเครื่องดื่ม การประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร
2.2 ผู้รับบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬามีความพึงพอใจในระดับสูง 15 คน คิดเป็นร้อยละ 7.46 ความพึงพอใจระดับปานกลาง 114 คน คิดเป็นร้อยละ 56.72 ความพึงพอใจระดับต่ำ 72 คน คิดเป็นร้อยละ 35.82 ตามลำดับ
2.3 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการบริการวิชาการแก่สังคม กรณีการบริการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาจากระดับสูงลงมาตามลำดับดังนี้
ระดับสูง ได้แก่ คุณภาพของเครื่องมือการออกกำลังกาย (x̄ = 2.46) ความปลอดภัยในการใช้บริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา (x̄ =2.42) ความเรียบร้อยของเครื่องมือการออกกำลังกาย (x̄ = 2.41) ความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา (x̄ = 2.36) ลงมาตามลำดับ
ระดับกลาง ได้แก่ ห้องน้ำสะอาดและมีจำนวนเพียงพอ (x̄ = 2.32) การดูแลเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา (x̄ = 2.26) ความสะดวกสบายของการมาใช้บริการ (x̄ = 2.24) อุปกรณ์สะอาด สภาพใช้การได้ (x̄ = 2.23) ความเหมาะสมของโปรแกรมการออกกำลังกาย (x̄ = 2.22) การจัดเจ้าหน้าที่ให้การบริการ (x̄ = 2.06) การให้ข้อมูล คำอธิบายในการรับบริการ (x̄ = 2.01) การให้คำแนะนำ คำปรึกษา (x̄ = 1.98) การให้การต้อนรับ (x̄ = 1.96) การบริการด้านเครื่องดื่ม (x̄ = 1.94) การประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร (x̄ = 1.92)
ระดับต่ำ ไม่มี
2.4 ผู้รับบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นเพศชาย จำนวน 154 คน มีคะแนนเฉลี่ย 33.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.422 เพศหญิง จำนวน 47 คน มีคะแนนเฉลี่ย 30.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.038 ผลการวิเคราะห์พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.5 ผู้รับบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นนักศึกษา จำนวน 196 คน มีคะแนนเฉลี่ย 32.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.635 คณาจารย์และบุคลากร จำนวน 5 คน มีคะแนนเฉลี่ย 42.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.836 ผลการวิเคราะห์พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.6 ผู้รับบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่เคยใช้บริการจากที่อื่น จำนวน 101 คน มีคะแนนเฉลี่ย 33.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.314 ไม่เคยใช้บริการจำนวน 100 คน มีคะแนนเฉลี่ย 31.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.174 ผลการวิเคราะห์พบว่าไม่แตกต่างกัน
2.7 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 3 กลุ่ม ผู้มารับบริการบ่อยๆ ปานกลางและนานๆครั้งพบว่ากลุ่มที่มีจำนวนครั้งการเข้ารับบริการต่างกันมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่าผู้ที่มีจำนวนครั้งในการรับบริการแตกต่างกันจะมีความแตกต่างกันของความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเมื่อทำการทดสอบรายคู่วิธี Scheffe พบว่ากลุ่มที่มีจำนวนครั้งการรับบริการปานกลางมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่มีจำนวนครั้งการรับบริการนาน ๆ ครั้ง (P = .006) ในขณะที่กลุ่มอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน
อ้างอิง
ว่าที่ร้อยตรีธนพงศ์ แก้วคำ (2555) ความพึงพอใจในการบริการวิชาการแก่สังคม กรณีการบริการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
การศึกษาปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Title
การศึกษาปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564
Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7
Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7
https://suchanyapam.blogspot.com
https://manidatukta2524.blogspot.com
https://sanjitaklayprayong.blogspot.com
https://kruweerayut01.blogspot.com
https://pongthepniyomthai.blogspot.com
https://noorfadilah2534.blogspot.com
https://kanoktip2536.blogspot.com
https://supannee-suna.blogspot.com
https://chaitobuddee.blogspot.com
https://teerapongsuksomsong.blogspot.com
https://witsarut-benz238.blogspot.com
https://phakornkiat.blogspot.com
https://nitid-hengchoochip.blogspot.com
https://chonthichadeebucha.blogspot.com
https://nopparataunprasert.blogspot.com
https://chaichaofa.blogspot.com
https://voraponbabyboss.blogspot.com
https://chenchira2021.blogspot.com
https://nattidadechakkanat.blogspot.com
https://khunmuangchukorn.blogspot.com
https://anupong12tu.blogspot.com
https://sutthananabangchang.blogspot.com
https://sattawatsurisan.blogspot.com
https://thanchanokluarnkrew.blogspot.com
https://supaporn1204.blogspot.com
https://vigaivaraporn.blogspot.com
https://nisachonyimprasert.blogspot.com
ประวัติ นายวีรยุทธ ปิงเมือง
๒. เกิดเมื่อวันที่ ๑ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒
๓. ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน ตำแหน่ง ครู
สถานที่ทำงานศึกษา โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
๒.ประวัติการศึกษา
๒๕๕๙ ปริญญาโท ค.อ.ม. วิศวกรรมไฟฟ้า ม.พระจอมเกล้า พระนครเหนือ
๒๕๕๔ ปริญญาตรี ค.อ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า ม.พระจอมเกล้า พระนครเหนือ
๒๕๕๒ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิชาไฟฟ้า ม.ราชมงคลล้านนา เชียงราย
๒๕๕๐ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรม/ไฟฟ้า โรงเรียนบริหารธุรกิจพะเยา
๒๕๔๔ ประถมศึกษา โรงเรียนบุญสิษฐ์วิทยา
๓.ประวัติการทำงาน (ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบัน)
๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ครูคศ.๑ โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย
๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ครูผู้ช่วย โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ครูอัตราจ้าง วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี
๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ วิศวกรไฟฟ้า บริษัท พาต้าเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
๔.ความรู้ความสามารถพิเศษ
๑. ด้านคอมพิวเตอร์ ทักษะการใช้โปรแกรมกลุ่ม Microsoft Office และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
๒. ด้านงานวิจัย มีทักษะในการจัดทำวิจัย การประเมินโครงการ การใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
๓. ด้านกีฬา เทเบิลเทนนิส,
ผู้ฝึกสอน มวยไทย,มวยสากลสมัครเล่น ฯลฯ
๕.ประวัติการสอน
๑. เริ่มสอนครั้งแรก เมื่อ ๒๒ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
แผนกวิชา ช่างไฟฟ้ากำลัง
ในระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี
ตำบล ปากเพรียว อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี
รหัสไปรษณีย์ ๑๘๐๐๐ โทรศัพท์ -
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
๒. ปัจจุบันสอนในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑,๓ และ ๖
แขวง พระโขนงใต้ เขต พระโขนง จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๘๐๐๐
โทรศัพท์ 02-311-5185 โทรสาร 02-311-5317
เว็บไซต์ http://www.prakanong.ac.th
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ